หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จังหวัดนนทบุรี ท่านเกิดในรัชกาลที่ 2 ปีฉลู พ.ศ. 2359 เป็นบุตรชายของนายนาคและนางจันทร์ โดยมีพี่น้องทั้งหมด 4 คน คือ
1. หลวงปู่เอี่ยม
2. นายฟัก
3. นายขำ
4. นางอิ่ม

หลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
หลวงปู่เอี่ยม เกิดที่ตำบลบานแหลมใหญ่ ฝั่งใต้ ข้างวัดท้องคุ้ง
อำเภอ ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เมื่อปี พ.ศ.2381 เมื่อท่านอายุได้ 22 ปี จึงได้อุปสมบท
ที่วัดบ่อ ตำบลปากเกร็ด อำเภอปากเกร็ด (วัดบ่อนี้อยู่ติดกับตลาดในท่าน้ำปากเกร็ด) เมื่อหลวงปู่เอี่ยมอุปสมบทได้ประมาณ 1 เดือนก็ได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร
ธนบุรี ซึ่งในขณะนั้นพระพิมลธรรมพร เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งย้ายมาจากวัดราชบูรณะ พระนคร
หลวงปู่เอี่ยมศึกษาพระปริยัติธรรม และได้แปลพระธรรมบทอยู่ที่วัดแห่งนี้ถึง
7 พรรษา หลวงปู่เอี่ยมจึงได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ที่วัดประยูรวงศาวาส เมื่อปี พ.ศ. 2388 ท่านอยู่วัด
ประยูรวงศาวาสได้ 3 พรรษา จนถึงปี พ.ศ. 2391 มีสมุห์บัญชีชื่อ นายแขก ได้นิมนต์หลวงปู่
เอี่ยมไปจำพรรษาเจริญพระกัมมัฏฐานเป็นครั้งแรก และได้ศึกษาอยู่ 5 พรรษา
ถึงปี 2396 ได้มีญาติโยมพร้อมด้วยชาวบ้าน ภูมิลำเนาเดิมในคลองแหลมใหญ่ (ซึ่งปัจจุบัน คือคลองพระอุดม) อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เดินทางมา
อาราธนานิมนต์หลวงปู่เอี่ยม กลับไปปกครองวัดสว่างอารมณ์ หรือวัดสะพานสูงในปัจจุบันนี้
เมื่อท่านมาวัดสะพานสูงใหม่ๆ ภายในวัดนี้มีพระจำวันพรรษาอยู่เพียง 2 รูปเท่านั้น
ขณะที่หลวงปูเอี่ยม ได้ย้ายมาอยู่วัดสะพานสูงได้ 8 เดือน ก่อนวันเข้าพรรษาหลวงพิบูลย์สมบัติ บ้านอยู่ปากคลองบางลำภู พระนคร ได้เดินทางมา นมัสการท่านที่วัดสะพานสูง หลวงปู่เอี่ยมได้ปรารภถึงความลำบาก ด้วยเรื่องการทำอุโบสถและสังฆกรรม เนื่องจากโบสถ์เดิมได้ชำรุดทรุดโทรมมาก จึงอยากจะสร้างให้เป็นถาวรสถานแก่วัดให้เจริญรุ่งเรือง หลวงพิบูลยสมบัติจึงได้บอกบุญเพื่อเรี่ยไรหาเงินมาก่อสร้างอุโบสถและถาวรสถาน หลวงปู่เอี่ยมท่านจึงได้เริ่มสร้างพระปิดตาและตะกรุดเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นของชำร่วยแก่ผู้ที่บริจาคทรัพย์และสิ่งของที่ใช้ในการก่อสร้างพระอุโบสถและถาวรสถาน ต่อมาถึง พ.ศ. 2431 ได้มีการสร้างศาลาการเปรียญ หลังจากนั้นอีกหลวงปู่เอี่ยมท่านได้สร้างพระเจดีย์ฐาน 3 ชั้นขึ้นในปี พ.ศ. 2439 ขณะที่หลวงปู่เอี่ยมท่านได้มาอยู่ที่วัดสะพานสูง ท่านได้ไปธุดงค์ไปทางแถบประเทศเขมร โดยมีลูกวัดติดตามไปด้วย แต่หลวงปู่เอี่ยมจะให้ลูกวัดออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อน ๖-๗ ชั่วโมง แล้วค่อยนัดพบที่แห่งใดแห่งหนึ่ง แล้วท่านได้ไปพบท่านชีปะขาวซึ่งเป็นคนเขมร มีชื่อว่า จันทร์ หลวงปู่เอี่ยมจึงได้เรียนวิชาอิทธิเวทย์ จากท่านอาจารย์ผู้นี้อยู่หลายปี จนกระทั่งชาวบ้านแหลมใหญ่นึกว่าหลวงปู่เอี่ยมออกธุดงค์ได้ถึงแก่มรณภาพไปแล้ว เนื่องจากท่านไม่ได้กลับมาที่วัดหลายปี ชาวบ้านจึงได้ทำสังฆทานแผ่ส่วนกุศลไปให้ หลวงปู่เอี่ยมทราบในญาณของท่านเอง และท่านจึงได้เดินทางกลับมายังวัดสะพานสูง การไปธุดงค์ครั้งนี้ หลวงปู่เอี่ยมได้ไปเป็นเวลานาน และอยู่ในป่าจึงปรากฏว่าท่านหลวงปู่เอี่ยมท่านไม่ได้ปลงผม ผมท่านยาวมาก ยาวจนมาถึงบั้นเอว ส่วนจีวรก็ขาดรุ่งริ่ง หนวดท่านยาวเฟิ้มพร้อมมีสัตว์ป่าติดตามท่านเช่น เสือ, หมี , และงูจงอาง เป็นต้น

ตะกรุดโสฬสมงคล
จากการเจริญกัมมัฎฐาน จึงทำให้หลวงปู่เอี่ยมสำเร็จ “โสรฬ” ท่านหนึ่งและจากการเชี่ยวชาญวิชากัมมัฎฐานนี้เอง มีเรื่องเล่ากันต่อๆมาว่าบริเวณหน้าวัดมีต้นตะเคียนที่มีน้ำมันตกและดุมากเป็นที่น่าเกรงกลัวต่อชาวบ้าน หลวงปู่เอี่ยมจึงได้มายืนเพ่งอยู่ ๒-๓ วันเท่านั้นต้นตะเคียนต้นนั้นก็เฉา และยืนต้นแห้งตายหลวงปู่เอี่ยม ท่านมีอาคมขลังและวาจาสิทธิ์ มักน้อย สันโดษ นี้เองทำให้ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ทั้งชาวบ้านและเจ้านายผู้หลักผู้ใหญ่ในพระนครเคารพนับถือท่านอย่างมาก
ต่อมาท่านจะมรณภาพด้วยโรคชรา นายหรุ่น แจ้งมา ซึ่งเป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดคอยอยู่ปรนนิบัติท่านหลวงปู่เอี่ยมได้ขอร้องท่านว่า “ท่านอาจารย์มีอาการเต็มที่แล้วถ้าท่านมีอะไรก็กรุณาได้สั่งและให้ศิษย์ไว้เป็นครั้งสุดท้าย” ซึ่งท่านหลวงปู่เอี่ยมก็ตอบว่า “ถ้ามีเหตุทุกข์เกิดขึ้นให้ระลึกถึงท่านและเอ่ยชื่อท่านก็แล้วกัน”
หลวงปู่เอี่ยมได้มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2439 รวมอายุท่านได้ 80 พรรษา บวชได้ 59 พรรษา ท่านก็มรณภาพด้วยโรคชรา
ในสมัยนั้นสมเด็จกรมพระยาวชิญาณวโรรส ได้เสร็จไปตรวจการคณะสงฆ์ได้เสด็จขึ้นที่วัดสว่างอารมณ์นี้ ได้ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงข้ามคลองวัด (คลองพระอุดมปัจจุบันนี้) ส่วนใหญ่ชาวบ้านจะเรียกวัดสว่างอารมณ์นี้ว่า วัดสะพานสูง จึงทำให้วัดนี้มีชื่อเรียกกัน ๒ ชื่อ ฉะนั้น สมเด็จกรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเห็นว่า สะพานสูงนี้ก็เป็นนิมิตดีประจำวัดประการหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งชาวบ้านก็เรียกกันติดปากว่าวัดสะพานสูง จึงได้ประทานเปลี่ยนชื่อจากวัดสว่างอารมณ์ มาเป็น “วัดสะพานสูง” จนทุกวันนี้
“ถ้ามีเหตุสุข ทุกข์ เกิดนั้น ให้ระลึกถึงชื่อของเรา ”
ในบรรดาเครื่องรางของขลัง เบญจภาคีเครื่องรางของนักสะสมเครื่องรางของขลัง ได้ให้การยอมรับและยกย่องให้ “ตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคลของหลวงปู่เอี่ยม ” วัดสะพานสูง ต. คลองพระอุดม อ.ปากเกร็ด จ. นนทบุรี ให้เป็นอันดับหนึ่ง และหายากที่สุดยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทรเสียอีก ไม่มีนักสะสมพระเครื่องคนใดจะไม่รู้จัก ผู้ใดมีต่างก็หวงแหนเป็นอย่ายิ่ง

หลวงปู่เอี่ยม
ปรากฏการณ์ของตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคลซึ่งเสือจำเรียง ปางมณี หรือขุนโจร 5 นัดที่ยิ่งใหญ่, เสือผาด แก้วสนธิ , เสือเพี้ยน แดงสำวาลย์ และเสือแก่น ได้เคียนคาดอยู่แนบกายของเขาทั้งหลาย ได้สร้างความมหัสจรรย์และพรั่นรึงใจแก่บรรดาผู้ที่ได้รู้ได้เห็นมาแล้วในอดีตเมื่อราว 40-50 ปี เป็นที่สำแดงเดชและยืนยันถึงอำนาจพุทธาคมนั่นแสดงให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่มีจริง โดยปราศจากข้อกังขาใด ๆ เลย ซึ่งตะกรุดโทนของหลวงปู่เอี่ยมได้รับการสร้างและปลุกเสกขึ้นมาด้วยอำนาจกฤตยะและพลังจิตพิเศษผ่านปลายเหล็กจารถ่ายทอดลงสู่แผ่นโลหะในรูปแบบเลขยันต์อักขระเลขาจารึกแห่งสูตรมหาโสฬสมงคลและพระไตรสรณคมน์ล้อมรอบด้วยบารมี 30 ทัศน์ พร้อมด้วยมนต์ปัสสาสะปราณชีพอันเคร่งฉมังเวทย์ของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง
ครั้งเมื่อสำเร็จแล้วด้วยอิทธิเวทพุทธาคม ชื่อเสียงกิตติศัพท์ของตะกรุดโทนมหาวิเศษก็ขยายโดยทั่ว ควบคู่กันไปกับนามของหลวงปู่เอี่ยม ทำให้ชื่อเสียงมีอย่างสุดหล้าฟ้าเมืองไทยเลยทีเดียว ” ตะกรุดโทนของหลวงปู่เอี่ยมวัดสะพานสูงมีปาฏิหารย์ดุจดังเทวดาสร้างมีค่าควรเมืองหรือค่าพันตำลึงทอง ปลุกเสกองค์เดียวด้วยโองการมหาทะมึนให้ได้ครบ 10,000 จบเป็นเวลาถึง 3 ปี ( 3 พรรษา ) จะเห็นว่าไม่อิทธิวัตถุของที่ใด ๆ จะมีการตั้งใจปลุกเสกอย่างลึกล้ำเสมอเหมือนพระปิดตาและพระตะกรุดโทนฯของท่านเป็นแน่แท้ด้วยตัวของหลวงปู่เอี่ยมเองโดยเฉพาะ ” มีอานะภาพทุกด้านเรียกได้ว่าครอบจักวาล หากท่านผู้ใดมีไว้ครอบครองหมั่นบูชากราบไหว้ด้วยความศรัทธาและเชื่อมั่นจะเป็นสิริมงคงแก่ตัวเองและวงศ์ตระกูลและจะพ้นจากภัยพิบัติต่าง ๆ ชีวิตจักไม่ตกต่ำเป็นมหามงคลยิ่งใหญ่ มีเมตตามหานิยม , มีเจริญลาภผล จังงัง , มีกำบังภัย , ปลอดภัยแคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี , บำบัดและป้องกันโรคภัยและเจ็บไข้ ไร้เสนียดจัญไร กันโจ กันไฟพ้นจากศัตรูหมู่สัตว์ร้าย อย่าว่าแต่ปืนผาหน้าไม้เลยแม้แต่อหิงสาหรือฟ้าผ่าก็ยังกันได้ แจ้งเหตุการณ์ให้ทราบก่อนล่วงหน้า ดลใจในทางที่ถูกที่ควร
ถ้าอยู่ในบ้านเรือนบูชา ก็จะมีแต่ศิริมงคล แต่ที่สำคัญที่จะทำให้ผู้มีไว้ครอบครองได้สัมฤทธิ์ผล แห่งเดชานุภาพทั้งปวง แต่ต้องปฏิบัติตนให้อยู่ในศีลธรรม ตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคลของหลวงปู่เอี่ยมจึงเด่นขึ้นสู่ความนิยมสูงยิ่งเป็นอันดับหนึ่งของบรรดาเครื่องรางและตะกรุดมาเนิ่นนานกว่าใคร เป็นวัตถุมงคลที่มีสนนราคาสูงยิ่ง และหายากยิ่งจนมีผู้สืบเสาะอยากจะเป็นเจ้าของกันทั่วไป
ตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคล หลวงปู่เอี่ยมได้ใช้ความตั้งใจพากเพียรพยายามทยอยสร้างออกมาอยู่เรื่อย ๆ เพื่อแจกจ่ายนำทุนปัจจัยมาสร้างโบสถ์ , พระวิหาร , ศาลาการเปรียญและเจดีย์แก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์ เงิน 1 ตำลึงหรือ 4 บาท หรือจะนำทรายหรืออิฐหรือหิน จำนวน 1 ลำหรือกำปั้น ก็จะได้ตะกรุด 1 ดอก
การปลุกเสก…เห็นจะไม่มีอิทธิวัตถุของสำนักใด ๆ ที่มีการปลุกเสกอย่างลึกล้ำเสมอเหมือนตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคลของท่าน ท่านจะปลุกเสกของท่านตามลำพังเงียบ ๆ ภายในกุฏิทุกค่ำคืนและแทบตลอดอายุขัยของท่านทีเดียว โดยต้องปลุกเสกด้นโองการมหาทะมึนให้ครบ 10,000 จบ ในเวลา 3 ปี การใช้เวลาอันเนิ่นนานปานนี้ จึงไม่มีปัญหาเลยว่า ตะกรุดของหลวงปู่จะไม่เป็นยอดแห่งบรรดาตะกรุดทั้งหลาย เป็นตะกรุดที่ทรงคุณค่าควรเมืองหรือค่าพันตำลึงทองทรงอิทธิพลังพุทธาคมคุ้มเกรงภยันตรายทั้งปวง
ตะกรุดโทนมหาโสฬสมงคลของหลวงปู่เอี่ยม มีการสร้างหลายแบบด้วยกันคือ
1. แบบเนื้อเงิน เป็นของพวกคหบดีโบราณนำมาให้ท่านลงให้ ท่านมิได้ทำเอง ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ๆ
2. แบบเนื้อตะกั่วถ้ำชา ความยาวประมาณ 4.5 นิ้ว สร้างในยุคต้นเพื่อหาทุนสร้างศาลาการเปรียญ
3. แบบเนื้อทองแดง ความยาวมีตั้งแต่ 2.5 นิ้ว , 3.5 นิ้ว และ 4.5 นิ้ว
ขนาดที่อยู่ในความนิยมนั้นยาวประมาณ 3.5 นิ้ว หรือ รุ่นหาทุนสร้างพระเจดีย์ราวปี พ.ศ. 2419 ท่านได้สร้างไว้จำนวนหนึ่ง ได้รับความนิยมเป็นอันดับหนึ่งตลอดมา
ตะกรุดของหลวงปู่เอี่ยม ท่านจะลงในวันเสาร์ , วันอังคาร เวลาตอนเช้า โดยจะทำการลงพระยันต์มหาโสฬสมงคลประทับหน้า เมื่อม้วนแล้วจะอยู่ด้านใน ( พระยันต์มหาโสฬสนี้แม้แต่สมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ กรุงเทพฯ ผู้เจนจบในพระยันต์ร้อยแปด ทรงพิจารณาแล้วเห็นว่ายันต์โสฬสมงคลเป็นยันต์อันวิเศษสุดกว่ายันต์ทั้งปวง พระองค์ได้นำไปประทับในพระอุโบสถของวัดสุทัศน์ฯ และเขียนสอดใส่ไว้ใต้หมอนหนุนศรีษะตลอดเวลา จนกระทั่งมรณะภาพเมื่อปี พ.ศ. 2487 จึงได้พบแผ่นยันต์นี้ )
ยันต์โสฬสมงคลเป็นยันต์เลข 3 ชั้น ชั้นนอกมีการลงด้วยเลข 16 ตัว ( โสฬสคำนี้แปลว่า 16 ชั้นฟ้า อันมีอินทร์ , พรหม , ยม ,นาค และพระคณาจารย์โบราณ โดยจะกล่าวพรรณาถึงเมื่อเวลากระทำพิธีบวงสรวง ในการบูชาครูทุก ๆ ครั้ง ) ด้วยสูตรโสฬสรอบกลางลงด้วยเลข 12 ตัว ลงด้วยสูตรตรีนิสิงเห , รอบในลงด้วยเลข 6 ตัว , ลงด้วยสูตรจตุโร แล้วทำการลงอักขระเพื่อล้อมรอบยันต์ทั้ง 4 ด้านด้วยพระคาถาบารมี 30 ทัศน์ ส่วนพระยันต์ไตรสรณาคม ประทับหลัง เมื่อม้วนแล้วยันต์จะอยู่ด้านนอก ล้อมด้วยอิติปิโส ฯลฯ ภควาติ ลงด้วยสูตรรัตนมาลัยเป็นตาม้าหมากรุกโดยรอบ
ตะกรุดแบบเนื้อทองแดงของหลวงปู่เอี่ยม ท่านมีการม้วน ( พัน ) เท่าที่ได้พบเห็นมาจะมีจำนวน 7-9 รอบ ส่วนใหญ่มีรูร้อยเชือกเล็กกว่าตะกรุดโทนของคณาจารย์รูปอื่น ยกเว้นตะกรุดโทนบางดอกที่ผ่านการใช้มามาก แผ่นทองแดงที่มีขนาดบางมากแล้วถักด้วยเชือกสายสิญจ์มักจะเป็น 4 เกลียว หรือ 5 เกลียว ( 4 เสา หรือ 5 เสา ) เป็นลายกระบองไขว้โผล่หัวโผล่ท้ายเรียกกันว่า ” ก้นแมลงสาบ ” และหลวงปู่เอี่ยมจะโรยด้วยผงวิเศษ 5 ประการที่ท่านปลุกเสกเองกับผงยันต์ตะกรุดโสฬสมงคลและผงพระยันต์ไตรสรณาคมแล้ว จึงทา หรือลงรักเพื่อให้คงทนที่ผสมด้วยผงพุทธคุณ
ส่วนผงพุทธคุณ , ผงสมุนไพรและว่านตากแห้ง หลวงปู่เอี่ยม ท่านนำมาปลุกเสกตามตำรับโดยเฉพาะของท่านตามที่เกริ่นตามขั้นต้นอีกครั้ง ซึ่งใช้ระยะเวลาอันยาวนานถึง 3 ปี ( 3 พรรษา ) เต็มไปด้วยความพากเพียรพยายามอย่างตั้งใจด้วยความละเอียดอ่อน เพื่อให้มีพุทธคุณมีอิทธิฤทธิ์ที่ยิ่งยวดเสมือนเหมือนประดุจดั่งเทวดาสร้างมีค่าควรเมือง
การพิจารณา…ตะกรุดโทนมหาโสฬสทุกแบบของหลวงปู่มีอายุการสร้างจนถึงปัจจุบันมีอายุประมาณ 130-140 ปี มีความเป็นเอกลักษณ์เป็นของตัวเองที่ไม่เหมือนการสร้างตะกรุดของคณาจารย์รูปอื่น ๆ เช่น การม้วน , การตัดแผ่นโลหะ อีกทั้งความเก่าของแผ่นโลหะสนิมที่เกาะและการกัดกร่อนแผ่นโลหะตามระยะเวลาอย่างเป็นธรรมชาติ อีกทั้งเชือกสายสิญจน์ที่ใช้ถัก รวมถึงผงวิเศษที่ใช้โรยและรักที่ลงไว้ก็จะเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนสำนักใด ผิดแผกไปจากสำนักอื่นคือจะมีสีอมแดง เมื่อส่องกับแดดหรือที่สว่าง เมื่อพิจารณาจะเห็นเม็ดแดง ๆ ที่ว่านี้ได้ชัดเจน
ปัจจุบัน ” หลวงปู่เอี่ยม ปฐมนาม วัดสะพานสูง ” ท่านได้มรณะภาพไปแล้วรวม 104 ปี แต่ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านยังเป็นที่เลื่องลือ และเป็นที่กล่าวขวัญอยู่เสมอไม่มีวันเสื่อมคลาย วัตถุมงคลของท่านผู้ครอบครองต่างก็ประสบคุณอภินิหารมากมาย จนกล่าวได้ว่าไม่มีผู้ใดที่มีวัตถุมงคลของท่านติดตัว ประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรมอันควรแล้วต้องเสียชีวิตจากคมอาวุธหรือสิ่งมีคมอื่น ๆ แม้แต่รายเดียว กาลเวลาได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่สิ่งที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงคือ ความเป็นอมตะของหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง และวัตถุมงคลของหลวงปู่เอี่ยม